ซื้อเครื่องวิทยุคมนาคมอย่างไร
?จึงจะปลอดภัย
หากท่านประสงค์จะซื้อเครื่องวิทยุคมนาคม
จะต้องระวังและพิจารณาให้ดี
เครื่องวิทยุคมนาคมที่ท่านซื้อแล้วปลอดภัย
จะต้องเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมที่ถูกต้องตามกฎหมาย
กล่าวคือ
1.นำเข้ามาในราชอาณาจักรถูกต้อง
2.ได้รับใบอนุญาตให้นำเข้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม
3.เสียภาษีถูกต้องตามพระราชบัญญัติศุลกากร
พ.ศ. 2469
ตัวเครื่องวิทยุคมนาคมจะต้องมีเลขทะเบียนของกรมไปรษณีย์โทรเลขกำกับตัวอย่างเช่น
ปท.123456/38
ทั้งนี้สามารถตรวจสอบเลขทะเบียนดังกล่าวจากกรมไปรษณีย์โทรเลขได้
ต้องมีใบกำกับการเสียภาษีให้ตรวจสอบได้
หรือเป็นเครื่องที่ได้รับอนุญาตให้ทำขึ้นในราชอาณาจักรโดยถูกต้อง
4.ผู้ขายต้องได้รับใบอนุญาตให้ค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม
5.ต้องได้รับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมหรือตั้งสถานีวิทยุคมนาคมแล้วเท่านั้น
ผู้ซื้อจึงจะมีสิทธิ์มีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมนั้นได้
ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมอย่างไร
จึงจะถูกต้องตาม พรบ.วิทยุคมนาคมฯ
- กรณีการทำ
มี ใช้
ค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม
นำเข้าในราชอาณาจักรและนำออกนอกราชอาณาจักรซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม
การตั้งสถานีวิทยุคมนาคม
การกระทำหน้าที่พนักงานวิทยุคมนาคม
และการรับข่าววิทยุคมนาคมต่างประเทศเพื่อการโฆษณา
ต้องได้รับใบอนุญาตก่อน (มาตรา 6, 7, 8, 11
วรรคแรก 23, 25 แห่งพรบ.วิทยุคมนาคมฯ)
- ต้องใช้ความถี่วิทยุ
ตามที่อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขกำหนด (มาตรา 11
วรรค 3, 23 แห่ง พรบ.
วิทยุคมนาคมฯ)
- ต้องไม่กระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวาง
ต่อการวิทยุคมนาคม (มาตรา
15, 26, 27 แห่ง พรบ.วิทยุคมนาคมฯ)
- ต้องไม่ส่งหรือจัดให้ส่งข้อความอันเป็นเท็จ
หรือที่มิได้รับอนุญาตจาก
พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติหรือประชาชน
(มาตรา 16, 23 แห่ง พรบ.วิทยุคมนาคมฯ)
- ต้องไม่ดำเนินการบริการวิทยุคมนาคมนอกเหนือจากที่ระบุในใบอนุญาตหรือ
นอกเหนือจากงานราชการของกระทรวง
ทบวง กรม (มาตรา 12, 24
แห่ง พรบ.วิทยุคมนาคมฯ)
- ต้องไม่ดักรับไว้ใช้ประโยชน์
หรือเปิดเผยโดยมิชอบด้วยกฎหมายซึ่งข่าววิทยุคมนาคมที่มิได้มุ่งหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ
หรือที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติหรือประชาชน
(มาตรา 17, 25 แห่ง พรบ.วิทยุคมนาคมฯ)
การกระทำดังต่อไปนี้จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนเท่านั้นจึงจะกระทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย
- การทำเครื่องวิทยุคมนาคม
(หมายความรวมถึงการประกอบขึ้น
การแปรสภาพ (เปิดแบนด์)
การกลับสร้างใหม่)
- การมีเครื่องวิทยุคมนาคม
- การใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
(ใช้ความถี่วิทยุที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น)
- การตั้งสถานีวิทยุคมนาคม
(ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด)
- การนำเข้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมนอกราชอาณาจักร
- การนำออกซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมนอกราชอาณาจักร
- การค้าเครื่องวิทยุคมนาคม
(หมายความรวมถึงการซ่อมเครื่องวิทยุคมนาคมด้วย)
- การกระทำหน้าที่พนักงานวิทยุคมนาคมประจำเรือ
หรือพนักงานวิทยุสมัครเล่น
- การรับข่าววิทยุคมนาคมต่างประเทศเพื่อการโฆษณา
เครื่องวิทยุคมนาคมอะไรบ้างที่ท่านใช้ได้โดยไม่ต้องได้รับใบอนุญาต
เครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตให้ทำ
มี ใช้
นำเข้าในราชอาณาจักร นำออกนอกราชอาณาจักร
หรือค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม
มีดังต่อไปนี้ :-
- ไมโครโฟนไร้สาย
กำลังส่งไม่เกิน 10 mW
ความถี่ใช้งาน 33 -50 MHz, 88 -
108 MHz, 165 - 210 MHz และ 470 - 490 MHz
- โทรศัพท์ไร้สาย
กำลังส่งไม่เกิน 10 mW
ความถี่ใช้งาน 1.6 - 1.8 MHz, 30
- 50 MHz, และ 54 -74 MHz
- วิทยุบังคับสิ่งประดิษฐ์จำลอง
กำลังส่งไม่เกิน 100 mW
ความถี่ใช้งาน 26.965 - 27.405
MHz
- วิทยุบังคับการทำงานระยะไกล
กำลังส่งไม่เกิน 100 mW
ความถี่ใช้งาน 26.965 - 27.405
MHz และกำลังส่งไม่เกิน
10 mW ความถี่ใช้งาน 300 - 500
MHz
- เครื่องรับ-ส่งวิทยุ
ซีบี (Citizen Band)
กำลังส่งไม่เกิน 100 mW
ความถี่ใช้งาน 26.965 - 27.405
MHz
- เครื่องรับ-ส่งวิทยุของระบบสัญญาณเตือนภัยภายในบริเวณเฉพาะ
กำลังส่งไม่เกิน 10 mW
ความถี่ใช้งาน 300 - 500 MHz
- เครื่องรับ-ส่งวิทยุที่ใช้กับเครื่องมือทางการแพทย์
กำลังส่งไม่เกิน 10 mW
ความถี่ใช้งาน 300 - 500 MHz
- เครื่องมือวัดทางอิเล็คทรอนิกส์และโทรคมนาคม
(ตามกฎกระทรวง
ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2536)
ออกตามความในพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม
พ.ศ. 2498)
เครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต
ให้มี ใช้ หรือ นำออกนอกราชอาณาจักร
- เครื่องรับ-ส่งวิทยุลูกข่ายที่ใช้บริการโทรคมนาคมสาธารณะ
ซึ่งใช้สถานีกลางร่วมกันตัวอย่างเช่น
โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบรวงผึ้ง
(Cellular) วิทยุติดตามตัว (Radio
Paging)
- เครื่องรับ-ส่งวิทยุ
ซีบี (Citizen Band)
กำลังส่งสูงกว่า 100 mW
แต่ไม่เกิน 500 mW ความถี่ใช้งาน
26.965 - 27.405 MHz
- เครื่องส่งสัญญาณจากเครื่องเล่นวีดีโอ
กำลังส่งไม่เกิน 10 mW
ความถี่ใช้งาน 510 - 790 MHz
- อุปกรณ์รับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
(TVRO)
เพื่อการรับชมโดยเฉพาะ
ซึ่งมิได้มีการนำสัญญาณไปใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
- อุปกรณ์รับสัญญาณโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิก
- วิทยุบังคับสิ่งประดิษฐ์จำลอง
กำลังส่งสูงกว่า 100 mW
แต่ไม่เกิน 500 mW
ความถี่ใช้งาน 26.965 - 25.405
MHz (ตามกฎกระทรวง
ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2536)
ออกตามความในพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม
พ.ศ. 2498)
- ข้อสังเกต เครื่องวิทยุคมนาคมเหล่านี้ยังคงต้องได้รับใบอนุญาตในการดำเนินการ
นำเข้า มาในราช
อาณาจักร การค้า และ การตั้ง สถานีวิทยุคมนาคม
(ข้อยกเว้น
การตั้งสถานีวิทยุคมนาคม
ตามข้อ 1, 4, 5
ไม่ต้องได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม)
การดัดแปลงเครื่องวิทยุคมนาคมเป็นความผิด
เครื่องวิทยุคมนาคมที่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงในส่วนซึ่งเป็นสาระสำคัญเป็นการแปรสภาพเครื่องวิทยุคมนาคม
ถือเป็นการ "ทำ"
เครื่องวิทยุคมนาคม
เช่นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงความถี่วิทยุ
หรือ "เปิดแบนด์" การแก้ไขภาคกำลังส่งให้มีกำลังส่งสูงขึ้น หากไม่ได้รับใบอนุญาต
จะเป็นความผิดฐานทำเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม
พ.ศ. 2498
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มีโทษปรับไม่เกิน
1 แสนบาท
หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี
หรือทั้งปรับทั้งจำ
ตามมาตรา 23
จะใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้ถูกต้องจะต้องใช้ความถี่วิทยุให้ถูกต้องด้วย
การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ไม่เพียงคุณมีเครื่องวิทยุคมนาคมอย่างถูกต้อง
และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
หรือตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยมีใบอนุญาตอย่างถูกต้องเท่านั้นหากแต่คุณจะต้องใช้ความถี่วิทยุอย่างถูกต้องโดยจะต้องใช้กำลังส่งไม่เกินกว่าที่ได้รับอนุญาตด้วย
- ถ้าคุณเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่น
คุณจะใช้เครื่องวิทยุคมนาคมได้เฉพาะในย่านความถี่วิทยุ
ตามที่ระบุไว้ในระเบียบคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น
พ.ศ. 2530 เท่านั้น
- ถ้าคุณเป็นส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน
คุณจะต้องใช้ความถี่วิทยุตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
การบริหารความถี่วิทยุสำคัญไฉน?
1.ก็เพราะว่าคลื่นวิทยุเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัด ไม่เหมือนกับทรัพยากรชนิดอื่น
ๆ เช่น สินแร่ น้ำ ป่าไม้
หรือน้ำมัน ฯลฯ
2.ทรัพยากรอื่น
ๆ
มีสิทธิ์ถูกยึดครองเป็นเจ้าของได้
แต่คลื่นวิทยุนั้นทุกประเทศในโลกไม่ว่าจะเป็นประเทศใหญ่หรือประเทศเล็ก
ต่างก็มีกรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของคลื่นวิทยุร่วมกัน
และโดยเท่าเทียมกัน
3.ทรัพยากรอื่นเมื่อถูกบริโภคแล้วจะหมดสิ้นไป
หรือเปลี่ยนคุณสมบัติ
แต่คลื่นวิทยุไม่ใช่เป็นการบริโภค
แต่เป็นการใช้คลื่นวิทยุดดยการปรับความสัมพันธ์คุณสมบัติของคลื่นวิทยุทางด้านความถี่
เวลา และระยะทาง
เพื่อนำความถี่วิทยุที่ถูกใช้แล้วมาใช้ใหม่ได้อีกโดยมิให้สูญเสียโอกาส
4.คลื่นวิทยุจึงเป็นทรัพยากรสาธารณะ
เป็นทรัพยากรของโลก
คลื่นวิทยุไม่พรมแดนและเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
การใช้คลื่นวิทยุจึงต้องใช้ร่วมกัน
(Share)
โดยต้องมีการประสานงานกันภายใต้กฎระเบียบและข้อตกลงทั้งระหว่างประเทศและภายในประเทศ
5.ด้วยเหตุนี้รัฐ
(โดยกรมไปรษณีย์โทรเลข)
จึงต้องเข้ามาทำหน้าที่ดำเนินการบริหารความถี่วิทยุ
เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ
และของสาธารณชนโดยส่วนรวมโดยการวงกฎ
ระเบียบและข้อบังคับทางด้านการบริหารทั่วไปและทางด้านมาตรฐานทางเทคนิคในการใช้ความถี่วิทยุให้เป็นไปอย่างมีเหตุมีผล
ประหยัดและมีประสิทธิภาพ
โดยคลื่นวิทยุปราศจากรบกวนอย่างรุนแรงซึ่งกันและกัน



