จะใช้วิทยุคมนาคมให้ถูกต้องได้อย่างไร

เครื่องวิทยุคมนาคมคืออะไร
เครื่องวิทยุคมนาคม
อุปกรณ์วิทยุคมนาคมซึ่งถือว่าเป็นเครื่องวิทยุคมนาคม
เครื่องเถื่อน
เครื่องวิทยุคมนาคม
คืออะไร ?
"เครื่องวิทยุคมนาคม"
มีหลายประเภท ตัวอย่างเช่น
- เครื่องวิทยุคมนาคมประเภทมือถือและประจำที่
ได้แก่
- เครื่องในย่าน 2 meters
ในกิจการวิทยุสมัครเล่น
- เครื่องแบบสังเคราะห์ความถี่
(Synthesizer) ในกิจการราชการ
- เครื่อง CB (Citizen Band)
ย่านความถี่สำหรับประชาชนทั่วไปใช้
และในกิจการเรือประมง
- โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบรวงผึ้ง
(Cellular)
- วิทยุติดตามตัว (Radio
Paging)
- อุปกรณ์รับสัญญาณโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิก
- จานรับสัญญาณดาวเทียม
- สิ่งประดิษฐ์จำลองซึ่งใช้วิทยุบังคับ
(รถยนต์
หรือเรือซึ่งใช้วิทยุบังคับ)
- รีโมตคอนโทรล (Remote Control)
เปิดปิดประตู
- โทรศัพท์ไร้สาย (Wireless
Telephone)
- ไมโครโฟนไร้สาย (Wireless
Microphone)
ข้อสังเกต เครื่อง รับ วิทยุกระจายเสียง
และเครื่อง รับ วิทยุโทรทัศน์
มิใช่ เครื่องวิทยุคมนาคม
เครื่องวิทยุคมนาคม
- หมายความว่าเครื่องส่งวิทยุคมนาคม
เครื่องรับวิทยุคมนาคม หรือ
เครื่องรับและส่งวิทยุคมนาคม แต่ไม่รวมตลอดถึงเครื่องรับวิทยุกระจายเสียง
เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ และเครื่องส่งเครื่องรับ
หรือ
เครื่องรับและส่งวิทยุคมนาคมด้วยคลื่นแฮรตเซียน
ตามลักษณะหรือประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวง
- เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้ถือว่าอุปกรณ์ใด
ๆ
ของเครื่องวิทยุคมนาคมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมด้วย
อุปกรณ์วิทยุคมนาคมซึ่งถือว่าเป็นเครื่องวิทยุคมนาคม
- สายอากาศ (Antenna)
ที่ใช้กับเครื่องวิทยุคมนาคม
- สายนำสัญญาณ (Transmission Line)
ที่ใช้กับเครื่องวิทยุคมนาคม
- แผงวงจร (Circuit Board)
ที่ใช้กับเครื่องวิทยุคมนาคม
- แร่บังคับความถี่
(Crystal)
ที่ใช้กับเครื่องวิทยุคมนาคม
- เครื่องขยายกำลังส่ง
(RF Amplifier)
ที่ใช้กับเครื่องวิทยุคมนาคม
- มอดูล (Module)
ของเครื่องวิทยุคมนาคม
- อุปกรณ์ใด ๆ
ที่ผู้ใช้นำมาติดต่อเพื่อปรับเข้าไว้
หรือใช้ประกอบกับเครื่องวิทยุคมนาคมเพื่อเพิ่มสมรรถนะของเครื่องวิทยุคมนาคม
( ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2536)
ออกตามความในพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม
พ.ศ.2498 )
ข้อสังเกต อุปกรณ์ทั้ง 7
รายการต้องได้รับใบอนุญาตหากดำเนินการให้มี
ใช้ ค้า ทำ นำเข้าในราชอาณาจักร
และนำออกนอกราชอาณาจักร
เว้นแต่ได้นำอุปกรณ์ดังกล่าวไปประกอบเข้าหรือใช้กับเครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับอนุญาตอยู่แล้ว
ให้อุปกรณ์นั้นได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต
( ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2536)
ออกตามความในพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม
พ.ศ. 2498 )
เครื่องเถื่อน
?
ท่านมี "เครื่องเถื่อน"
อยู่ในมือหรือไม่
"เครื่องเถื่อน"
หมายถึง
เครื่องวิทยุคมนาคมที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หรือเครื่องวิทยุคมนาคมที่ทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หรือเครื่องวิทยุคมนาคมที่มีไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ถ้าท่านมีเครื่องเถื่อนอยู่ในความครอบครองท่านจะมีความผิดฐานนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ตามมาตรา 6
แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม
พ.ศ. 2498
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
และมีความผิดฐานนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี
ตามมาตรา 27
แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469
ข้อสังเกต เครื่องเถื่อนจะนำมาใช้ให้ถูกต้องตามกฎหมายไม่ได้
เครื่องเถื่อนจะนำมาขึ้นทะเบียนครุภัณฑ์ให้เป็นสมบัติของทางราชการไม่ได้
